หมายถงเครื่องดนตรีประเภทหนึ่งที่มีสาย ทำให้เกิดเสียงได้โดยการใช้สี เครื่องดนตรี
ประเภทนี้ในวงการดนตรีไทยได้แก่
1.ซอด้วง
2.ซออู้
3.ซอสามสาย
4. สะล้อ
ซอสามสาย
เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของไทย
ในสมัยสุโขทัยเรียก ซอพุงตอ กะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดพิเศษ
คือมีกะลานูนเป็นกระพุ้งออกมา 3 ปุ่ม
ขึงหนังแพะหรือหนังลูกวัวปิดปากกะลาส่วนประกอบที่สำคัญนอกจาก
หย่องซึ่งเป็นไม้สำหรับหนุนสายตรงหนังซอให้สายตุงออกมายังมีถ่วงหน้าตรงด้านซ้ายตอนบนซึ่งช่วยให้ซอมีความไพเราะ
กังวาน ทั้งยังเป็นที่ประดับประดา อัญมณีเพื่อให้เกิดความสวยงาม
ใช้บรรเลงประสมอยู่ในวงขับไม้ วงมโหรี และวงดนตรีประกอบชุดโบราณคดี
ซอด้วง
มี
2 สาย กะโหลกซอเดิมทำด้วยกระบอกไม้ไผ่
ในปัจจุบันนิยมใช้ไม้เนื้อแข็งเจาะกลึง ขึ้นหน้ากะโหลก ซอด้วยหนังงูเหลือม
คันทวนตอนบนปาดปลาย ลักษณะคล้ายโขนเรือ มีลูกบิด 2
อันสอดคันชักระหว่าง สายซอ ทั้ง 2 เส้น เนื่องจากรูปร่างลักษณะของซอคล้ายด้วงดักสัตว์จึงเรียกว่า “ซอด้วง ใช้ประสม ในวงเครื่องสาย และมโหรี
ทำหน้าที่เป็นเครื่องนำวงในวงเครื่องสาย
ซออู้
มี
2 สาย กะโหลกทำจากกะลามะพร้าวปาดข้าง และแกะสลักลวดลาย
เพื่อเปิดให้มีช่องเสียง หุ้มหนัง ซอด้วย หนังแพะ หรือหนังลูกวัว คันทวนตั้งตรง
ลักษณะเด่นของซออู้ คือ เสียงที่ทุ้มต่ำกังวาน
ดำเนินการ บรรเลงให้มีท่วงทำนองอ่อนหวาน เศร้าโศกได้ดี
ประสมอยู่ในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์ไม้นวม
และวงดนตรีประกอบระบำชุดโบราณคดี
สะล้อ
เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของภาคเหนือ
มี 2-3 สาย
ลักษณะคล้ายซออู้กับซอสามสายผสมกัน มีคันชัก อยู่ด้านนอก ใช้บรรเลงเดี่ยวบ้าง
บรรเลงประสมกับซึงบ้าง หรือกับปี่ซอบ้าง เป็นต้น